Menu

slide398 1

 

หน่วยงาน ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภายใต้ยุทธศาสตร์ “สร้างเสริม สังคมไทย” ที่มุ่งหวังให้จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่เข้าถึงได้ของทุกคนในสังคม มุ่งสร้างสรรค์สังคมไทยสู่สังคมอุดมปัญญา และการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม

ที่มาของโครงการ

สืบเนื่องจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ผ่านศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค เพื่อดำเนินงานโครงการวิจัยบริการ ในพื้นที่จังหวัดน่าน มาตั้งแต่ พ.ศ.2548 ในส่วนของโครงการวิจัยบริการที่เกี่ยวกับสุกร เริ่มด้วยโครงการจัดตั้งศูนย์ผสมเทียมสุกร และการวิจัยด้านการผสมเทียม พัฒนาต่อเนื่องเป็นโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสุกร และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกรเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 - 2555 ดำเนินการโครงการขยายเครือข่ายเกษตรกรรายย่อย และการเลี้ยงสุกรด้วยวิธีเกษตรธรรมชาติในจังหวัดน่าน มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงบริการที่มุ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางอาหารโปรตีนและความปลอดภัยทางอาหารในจังหวัดน่าน

ผลสำเร็จจากการดำเนินงานโครงการวิจัยที่เป็นรูปธรรม คือ จัดให้มีศูนย์ผลิตน้ำเชื้อสุกรและส่งเสริมการผสมเทียมเพื่อทดแทนการใช้พ่อสุกรรับจ้างผสมพันธุ์ อันเป็นการป้องกันปัญหาการแพร่กระจายโรค โดยเฉพาะโรคทางระบบสืบพันธุ์ เกษตรกรได้ใช้น้ำเชื้อจากพ่อสุกรที่ได้รับการตรวจว่าปลอดโรคต่างๆ มีการควบคุมคุณภาพน้ำเชื้อ และมีคุณค่าทางพันธุกรรมสูง

เมื่อสิ้นสุดโครงการวิจัยปีงบประมาณ พ.ศ.2555 ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค ได้ปรับโอนภาระงานของโครงการวิจัยต่างๆ มาเป็นภาระงานประจำของศูนย์ฯ ในส่วนของการเลี้ยงและการจัดการด้านสุกร ได้ปรับมาเป็นต้นแบบการศึกษาการเลี้ยงสุกร โดยดำเนินการโครงการผลิตน้ำเชื้อสุกรเพื่อการผสมเทียมสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ควบคู่กับการจัดการฝึกอบรมความรู้และทักษะการผสมเทียมสุกรให้แก่เกษตรกรรายย่อยมาโดยตลอด ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการที่ผ่านมาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการผสมสุกรในพื้นที่ที่จากเดิมนิยมการผสมด้วยวิธีธรรมชาติด้วยการจ้างพ่อพันธุ์มาผสมในเล้าของเกษตรกรมาเป็นการผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อสายพันธุ์ดี ทำให้ช่วยลดการ
ติดเชื้อโรคจากการผสมและเพิ่มจำนวนลูกสุกรต่อการตั้งท้องครั้งหนึ่งได้มากกว่าเดิม มีผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรมีรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันการขอรับบริการน้ำเชื้อสุกรเพื่อการผสมเทียมจากห้องปฏิบัติการผลิตน้ำเชื้อของศูนย์ฯ มีความต้องการเฉลี่ยเดือนละ 500 หลอด นอกจากนี้ มุ่งพัฒนาต้นแบบการศึกษาและพัฒนาการผลิตอาหารโปรตีนจากสัตว์โดยเฉพาะสุกร ให้เป็นกระบวนการการเลี้ยงปศุสัตว์ในระดับชุมชนเพื่อการบริโภคควบคู่กับการเพิ่มรายได้ครัวเรือนของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อความมั่นคงและความปลอดภัยทางอาหารตามแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัดน่านบนพื้นฐานของทรัพยากรในท้องถิ่นและหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบการถ่ายทอดและพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านการจัดการปศุสัตว์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีรายละเอียดการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1) การย้ายโรงเรือนสุกรจากสถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ไปยัง สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน โดยการก่อสร้างศูนย์สาธิตการเลี้ยงสุกรแบบผสมผสาน รองรับการฝึกอบรมเกษตรกร และเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติทักษะวิชาชีพสำหรับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีความสนใจ

2) พัฒนาต่อเนื่องห้องปฏิบัติการผลิตน้ำเชื้อพ่อสุกรสายพันธุ์ ณ สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีผาสิงห์ ให้เป็นห้องปฏิบัติการผลิตน้ำเชื้อพ่อสุกรสายพันธุ์ระดับพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศมาตรฐานสากลสามารถรองรับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อผลิตผลงานวิจัยได้ในระดับนานาชาติ

3) จัดการกลุ่มอาคารสถานที่ ณ พื้นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา ให้สามารถรองรับกิจกรรมการเรียน การสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ ได้เต็มรูปแบบ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา บุคลากรในโครงการของศูนย์เครือข่ายฯ ได้สะสมองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงและบำรุงพันธุ์สุกร จนมีความพร้อมขยายและพัฒนาต่อยอดงานเดิมที่ดำเนินงานมาแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ศูนย์เครือข่ายฯ จึงมุ่งปรับการปฏิบัติงานในฐานะ “โครงการ” ให้เป็น “งานประจำ” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเลี้ยงและบำรุงพันธุ์สุกรผ่านกระบวนการการฝึกอบรมแก่เกษตรกรน่านที่ประสงค์จะประกอบอาชีพการเลี้ยงสุกรต่อไป โดยกระบวนการนี้จะมีผลให้ศูนย์ฯ สามารถขยายเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและ สร้างโอกาสให้แก่ “เยาวชนน่าน” ที่จะเข้าถึงบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยได้รับการฝึกอบรมจาก “ผู้รู้” ที่มีประสบการณ์ตรงจนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้จริง ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อการก้าวไปสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม”

การบริการวิชาการในรูปแบบโรงเรียนสาธิตการเลี้ยงสุกรแบบผสมผสานที่จะดำเนินการนี้ เป็นกิจกรรมที่มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ประชาคมน่าน ในลักษณะหลักสูตรต่อเนื่อง ประกอบด้วยการจัดอบรมเนื้อหาวิชาการที่จำเป็นสำหรับจัดการฟาร์มสุกรที่ถูกต้อง การลดต้นทุนในการเลี้ยงสุกรโดยการผลิตอาหารสุกรด้วยวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น และลงมือฝึกปฏิบัติจริง ณ “ศูนย์สาธิตการเลี้ยงสุกรแบบผสมผสาน” และเพื่อให้โครงการสาธิตการเลี้ยงสุกรแบบผสมผสาน บรรลุวัตถุประสงค์ในการสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้จากอาชีพเลี้ยงสุกร เสริมสร้างการรวมกลุ่มของเกษตรกรหรือชุมชน ให้เกิดการพึ่งพากันในการประกอบอาชีพด้านการปศุสัตว์ การสนับสนุนการเพิ่มความสามารถการผลิตแหล่งอาหารโปรตีนในพื้นที่ และขยายโอกาสการเข้าถึงบริการวิชาการด้านสัตวศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่  

นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค พ.ศ. 2557 กำหนดให้ ศูนย์มีภาระหน้าที่ในการพัฒนาและเอื้ออำนวยโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัย ส่วนงาน และหน่วยงานต่างๆในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย กิจการนิสิต การบริการวิชาการหรือการดำเนินการอื่นๆ ในเขตพื้นที่เครือข่ายภูมิภาค ตลอดจนการแสวงหาปรัชญา ความรู้พื้นถิ่น แสวงหาความต้องการหรือปัญหาต่างๆ พื้นถิ่น เพื่อส่งเสริมการวิจัย การบริการวิชาการ การพัฒนาและถ่ายทอดความรู้สู่พื้นที่เครือข่ายภูมิภาค 

การจัดทำโรงเรียนสาธิตการเลี้ยงสุกร จึงเป็นการสนับสนุนมหาวิทยาลัย ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับจังหวัดน่าน ผ่านการจัดบริการวิชาการ การเรียน การสอน การวิจัย เกี่ยวกับการเลี้ยงและดูแลสุกร ในพื้นที่ภูมิภาคจังหวัดน่าน และการขยายโอกาสการเข้าถึงบริการวิชาการ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

 

วัตถุประสงค์

5.1 เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัย ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับจังหวัดน่าน ผ่านการจัดบริการวิชาการ การเรียนการสอน การวิจัย เกี่ยวกับการเลี้ยงและดูแลสุกร ในพื้นที่ภูมิภาคจังหวัดน่าน

5.2 เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงบริการวิชาการ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่

 

วิธีการดำเนินโครงการ

1) จัดอบรมภายใต้หลักสูตรต่างๆ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีและสามารถนำไปใช้ประโยชน์การตัดสินใจในการประกอบอาชีพการเลี้ยงสุกรโดยทราบถึงปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร  ประกอบด้วย ต้นทุน (วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร โรงเรือน รวมถึงเงินที่ลงทุน), แรงงานที่ใช้, สายพันธ์สุกร, การจัดการ, สถานที่ประกอบการและ สภาพแวดล้อม โดยสามารถอธิบายการสร้างโรงเรือนที่เหมาะสมกับชนิดสุกร  เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงสุกรได้อย่างถูกต้องเหมาะสม  รู้จักสายพันธุ์สุกรและสามารถคัดเลือกพันธุ์และจัดเตรียมพันธุ์สุกรได้อย่างเหมาะสม

2) จัดการพัฒนาและเพิ่มพูนทักษะการปฏิบัติงานปศุสัตว์ให้กับบุคลากรของศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค ประกอบด้วย สัตวแพทย์ สัตวบาล นักวิทยาศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบ Trianning on the job ในโครงการสาธิตการเลี้ยงสุกรแบบผสมผสาน

7.4 สร้างและการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายวิชาการในพื้นที่-ปราชญ์ชาวบ้านผ่านระบบการติดตามผู้ผ่านการฝึกอบรม ในลักษณะ “พี่เลี้ยง” เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำ แก้ไขปัญหาในพื้นที่จริง ควบคู่กับการเก็บรวบข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของพื้นที่เพื่อการประมวลความสำเร็จและเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานในระยะต่อไป

หลักสูตรการอบรม ประกอบด้วย

หลักสูตรที่ 1 การเลี้ยงสุกรเบื้องต้น เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสุกร การจัดการสุกรแม่ก่อนคลอด หลังคลอด การดูแลสุขภาพ ให้เข้าใจวิธีการเลี้ยงและการผลิตสุกร

หลักสูตรที่ 2 การตรวจสภาพความเป็นสัด การผสมเทียมสุกรและการผลิตอาหารสุกร เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับวงรอบการเป็นสัดของสุกร ลักษณะของสุกรที่แสดงอาการเป็นสัดในระยะต่างๆ ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการผสมพันธุ์ รวมทั้งเรียนรู้ขั้นตอนและวิธีการผลิตอาหารสุกร ให้ได้มาตรฐาน คุณภาพดี โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น

หลักสูตรที่ 3 หลักสูตรการรีดน้ำเชื้อเพื่อการผสมเทียม เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับวิธีการรีดน้ำเชื้อสุกรพ่อพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์ ลดต้นทุนในการเลี้ยงพ่อพันธุ์ การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อสุกรเบื้องต้น เป็นการตรวจสี กลิ่นและปริมาตรด้วยตาเปล่ารวมถึงการเก็บรักษาน้ำเชื้อสุกรในอุณหภูมิที่เหมาะสมก่อนนำไปผสมเทียม

 1

2

3

4

5

icon booking

publications

icon buy

ประกาศศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาจ้างเหมาบริการรักษาความปลอดภัย
อาคารสถานที่ และทรัพย์สินภายในโครงการพัฒนาที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)new

ประกาศศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาจ้างตัดเหมาหญ้า กำจัดวัชพืช
และดูแลรักษาสภาพภูมิทัศน์ บริเวณโครงการพัฒนาที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)new

ประกาศศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาจ้างเหมาทำความสะอาดภายใน
โครงการพัฒนาที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)new

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา ประกวดราคาจ้างเหมาทำความสะอาดภายใน
ศูนย์เครือข่ายกาเรียนรู้เพื่อภูมิภาค  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) new

รายละเอียดขอบเขตของงาน (TOR) จ้างเหมาตัดหญ้า กำจัดวัชพืช และดูแลรักษาสภาพภูมิทัศน์ บริเวณโครงการพัฒนาที่ดินของ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี new

เอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เลขที่ ๒/๖๘

ประกวดราคาจ้างเหมาทำความสะอาดภายในโครงการพัฒนาที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี ด้วยวิธี

ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ตามประกาศ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๗ new

ประกาศศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ประกวดราคาจ้างเหมาตัดหญ้า กำจัดวัชพืช และดูแลรักษาสภาพภูมิทัศน์ บริเวณโครงการพัฒนาที่ดินของ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)new

รายละเอียดขอบเขตของงาน (TOR) จ้างเหมาทำความสะอาดอาคารภายในโครงการพัฒนาที่ดินของ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี new

เอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เลขที่ ๒/๖๘

ประกวดราคาจ้างเหมาทำความสะอาดภายในโครงการพัฒนาที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี ด้วยวิธี

ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ตามประกาศ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ลงวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๗ new

ประกาศศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ประกวดราคาจ้างเหมาทำความสะอาดภายในโครงการพัฒนาที่ดินของ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)new

รายละเอียดขอบเขตของงาน (TOR) จ้างเหมาทำความสะอาดอาคารภายในศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย new

เอกสารประกวดราคาซื้อด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) เลขที่ ๑/๖๘

ประกวดราคาจ้างเหมาทำความสะอาดภายในศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน ด้วยวิธี

ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ตามประกาศ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ลงวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๖๗ new

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ประกวดราคาจ้างเหมาทำความสะอาดภายในศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) new

 

คอลัมน์ข่าว

Go to top
JSN Boot template designed by JoomlaShine.com