Menu

mapV 3 s n

pix27

อาคารสระบุรี 1

ห้องประชุม สำหรับ 200 คน (ไม่มีเครื่องปรับอากาศ) 1 ห้อง
ห้องประชุม สำหรับ 6 คน 6 ห้อง
 ٠ เครื่องปรับอากาศ

 

pix28

pix26

อาคารสระบุรี 2

ห้องประชุม สำหรับ 20 คน 2 ห้อง
 ٠ เครื่องปรับอากาศ    
ห้องพัก สำหรับ 4 คน 8 ห้อง
 ٠ เตียงนอนเดี่ยว 4 เตียง
 ٠ ห้องน้ำในตัว 1 ห้อง
 ٠ เครื่องปรับอากาศ

 

pix43

อาคารอินทนิล 1 (อาคารที่พักสำหรับบุคลากร)

ห้องพัก สำหรับ 2 คน ขนาด 31.5 ตร.ม. 10 ห้อง
 ٠ เตียงนอนเดี่ยว 2 เตียง
 ٠ ห้องน้ำในตัว 1 ห้อง
 ٠ เครื่องปรับอากาศ
 ٠ เครื่องทำน้ำอุ่น
 ٠ ไมโครเวฟ
 ٠ ตู้เย็น

 

pix44

อาคารทองกวาว 1 (อาคารที่พักสำหรับอาจารย์)  
ห้องพัก สำหรับ 2 คน ขนาด 31.5 ตร.ม. 10 ห้อง  
 ٠ เตียงนอนเดี่ยว 2 เตียง
 ٠ ห้องน้ำในตัว 1 ห้อง
 ٠ เครื่องปรับอากาศ
 ٠ เครื่องทำน้ำอุ่น
 ٠ ไมโครเวฟ
 ٠ ตู้เย็น
     
   
อาคารฝ้ายคำ 1 (อาคารที่พักสำหรับนิสิตชาย)  
ห้องพัก สำหรับ 5 คน (ไม่มีเครื่องปรับอากาศ) ขนาด 31.5 ตร.ม. 10 ห้อง  
 ٠ เตียงนอนเดี่ยว 5 เตียง
 ٠ พัดลม
     
   
อาคารฝ้ายคำ 2 (อาคารที่พักสำหรับนิสิตหญิง)  
ห้องพัก สำหรับ 5 คน (ไม่มีเครื่องปรับอากาศ) ขนาด 31.5 ตร.ม. 10 ห้อง  
 ٠ เตียงนอนเดี่ยว 5 เตียง
 ٠ พัดลม

 

pix40

บ่อน้ำ

 

pix41

แปลงปลูก

(สถานีวิจัยคัดเลือกและบำรุงพันธุ์สัตว์) ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

mapV 2 s n

 pix07

pix14อาคารเวียงสา1 อาคารอเนกประสงค์

 

pix08
อาคารเวียงสา3 อาคารสำนักงานวิจัยบริการ

 

pix06อาคารเวียงสา4 อาคารที่พัก

 

pix12โรงสาธิตการเลี้ยงกบ ศูนย์สาธิตการเลี้ยงกบแบบเกษตรอินทรีย์

pix11

pix10

pix13

pix09

pix15

(ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

mapV 1 s n

 pix19

pix34
อาคารวิชชาคาม1
ที่ทำการศูนย์เครือข่าย ห้องเรียน ห้องสมุด

 

pix35
อาคารวิชชาคาม2

 

pix29
อาคารชมพูภูคา1 (อาคารสำนักงาน)
สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

pix30

อาคารชมพูภูคา2 (อาคารที่พักสำหรับนิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไป)
ห้องพัก สำหรับ 10 คน (มีเครื่องปรับอากาศ) 3 ห้อง

 

pix42อาคารชมพูภูคา3

 

 pix32

อาคารชมพูภูคา4 (อาคารที่พักสำหรับเจ้าหน้าที่ บุคลากร)  
 ห้องพัก สำหรับ 3 คน (มีเครื่องปรับอากาศ) 7 ห้อง

 

 pix37

อาคารชมพูภูคา5 (อาคารที่พักสำหรับนิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไป)  
 ห้องพัก สำหรับ 4 คน (มีเครื่องปรับอากาศ) 4 ห้อง  
 ห้องพัก สำหรับ 12 คน (มีเครื่องปรับอากาศ) 2 ห้อง

 

pix33อาคารชมพูภูคา6 (อาคารโรงอาหาร)
พื้นที่โถงโล่ง

 

pix36อาคารชมพูภูคา7 (อาคารที่พักสำหรับนิสิต บุคลากร และบุคคลทั่วไป)

 ห้องพัก สำหรับ 4 คน (มีเครื่องปรับอากาศ) 4 ห้อง  
 ห้องพัก สำหรับ 12 คน (มีเครื่องปรับอากาศ) 2 ห้อง

 

pix38
อาคารชมพูภูคา8 (อาคารหอพักนิสิต สำหรับนิสิตหญิง)

  ห้องพัก สำหรับ 4 คน (ไม่มีเครื่องปรับอากาศ) 18 ห้อง

 

pix39
อาคารชมพูภูคา9 (อาคารหอพักนิสิต สำหรับนิสิตชาย)

 ห้องพัก สำหรับ 4 คน (ไม่มีเครื่องปรับอากาศ) 16 ห้อง  
 ห้องพัก (มีเครื่องปรับอากาศ) 2 ห้อง


pix20อาคารโรงยิมเนเซียม (สนามกีฬาในร่ม)

 

pix17
กลุ่มอาคารเรือนทดลอง+คอกแพะ

 

pix16

pix21

อาคารจามจุรี 1 ชั้น 2

พ.ศ. 2538

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการตามนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับ อุดมศึกษาสู่ภูมิภาคของรัฐบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยใช้กลยุทธ์ให้มีมหาวิทยาลัยแกนนำจัดบริการอุดมศึกษาในพื้นที่ภูมิภาคส่วน ต่างๆ เพื่อจัดการศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต ในระดับท้องถิ่นโดยนัยประสงค์ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ในท้องถิ่น หากแต่ติดขัดด้วยงบประมาณและแรงกดดันด้านการเมืองที่ประสงค์ให้จัดตั้ง มหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ทั้งหมดกว่า 30 แห่ง รัฐบาลโดยทบวงมหาวิทยาลัยจึงลดขนาดโครงการเป็นการขยายวิทยาเขตสารสนเทศ โดยอาศัยกฎหมายของมหาวิทยาลัยแกนนำแทนการออกพระราชบัญญัติจัดตั้ง มหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ ในกรณีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภามหาวิทยาลัยไม่อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาเขตด้วยเหตุผล

       1. มหาวิทยาลัยมีนโยบายที่ชัดเจนไม่จัดตั้งวิทยาเขตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องเป็นหนึ่งเดียว

       2. ประสงค์จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นในท้องถิ่นโดยตรง เมื่อจังหวะเวลาเหมาะสมจึงให้ดำเนินการในหลักการเตรียมความพร้อมทางวิชาการ บุคลากร สถานที่ เพื่อการตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ให้เป็นมหาวิทยาลัยใน พื้นที่โดยตรง เช่น กรณีมหาวิทยาลัยน่าน

นโยบายดำเนินงาน ดังนี้

       1. ขยายกิจกรรมวิชาการ : การเรียนการสอนการวิจัยและการบริการวิชาการสู่พื้นที่โดย

           1.1 จัดการเรียนการสอนทางไกลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

           1.2 ร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานในพื้นที่

           1.3 ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเท่าที่จำเป็น

           1.4 จัดรูปแบบการบริหารจัดการ และการทำงานให้เสมือนปฏิบัติงานที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ)

       2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ระดับบุคลากร (เกษตรกรรายย่อย) ในพื้นที่ตามความต้องการและความจำเป็นของพื้นที่

           2.1 ความมั่นคงทางอาหาร

           2.2 ความปลอดภัยทางอาหาร

           2.3 การค้าชายแดน

           2.4 การจัดการระบบนิเวศบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน

       3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการสร้างอุตสาหกรรมการเกษตร (การปศุสัตว์) และสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ให้ดำเนินธุรกิจเป็น เสริมวงจรบ่วงโซ่อุตสาหกรรมการเกษตร (การปศุสัตว์) ในเป้าหมาย 2 ประการ คือ

           3.1 สร้างจังหวัดน่านให้มีความมั่นคงทางอาหาร

           3.2 สร้างจังหวัดน่านให้เป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีน (สุกร แพะ โค) ด้วยกิจกรรม

 circle01

ทบวงมหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ และโดยมติ ค.ร.ม. อนุมัติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัด น่าน ตรัง และศรีสะเกษ โดยใช้ชื่อว่า “สถาบันเทคโนโลยีขั้นสูง”

       จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการตามนโยบายและแนว คิดข้างต้น จังหวัดน่านได้จัดหาพื้นที่ประมาณ 2,116 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จนกระทั่งเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2549 มหาวิทยาลัยได้รับการอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ ตามที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 44 ง เรื่อง การจัดขึ้นทะเบียนที่ดินของรัฐ เพื่อให้ทบวงการเมืองใช้ประโยชน์ในราชการ ในท้องที่หมู่ที่ 2 ปัจจุบันอยู่ระหว่าง การดำเนินงานขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุในขั้นตอนสุดท้ายของสำนักงานที่ดิน จังหวัดน่าน

พ.ศ. 2541-2545

       ขณะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจกับประเทศ โครงการขยายโอกาสการอุดมศึกษา ต้องชะลอการดำเนินการตามมติ ค.ร.ม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องชะลอภารกิจการจัดตั้ง สถาบันเทคโนโลยีขั้นสูงไว้ และกลับมาทบทวนกิจกรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทางวิชาการในท้องที่ พุ่งเป้าหมายไปในการจัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยให้กิจกรรมงานวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความสามารถที่จะดำเนินการได้ เมื่อพิจารณาความพร้อมที่ประกอบด้วย สถาบันอุดมศึกษาในท้องที่ ความร่วมมือของส่วนราชการจังหวัด ความเข้มแข็งและความร่วมมือของประชาคมท้องถิ่น ตลอดจนพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรม ลงพื้นที่จังหวัดน่าน เพื่อเป็นจังหวัดนำร่องในการพัฒนาทางวิชาการของท้องที่
  พ.ศ. 2547-2553

       สำนักงบประมาณจัดสรรประมาณแผ่นดินสมทบงบประมาณเงินรายได้มหาวิทยาลัย ดำเนินกิจกรรมวิชาการในพื้นที่จังหวัดน่าน มีสำนักงานเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค เป็นหน่วยงานบริหารจัดการและประสานงานโครงการ

       สำนักงานเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค ถูกยก ฐานะจากหน่วยงานในสังกัดสำนักงานมหาวิทยาลัย ขึ้นเป็นส่วนงานที่มีชื่อเรียกอย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ/สถาบัน ตามประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2552 ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอนพิเศษ 16 ง ลงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 มีภาระหน้าที่ในการพัฒนาและสนับสนุนโครงสร้าง พื้นฐานในการจัดการศึกษา การวิจัย กิจการนิสิต การบริการวิชาการ หรือการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่เครือข่ายภูมิภาคของมหาวิทยาลัย

ปัจจุบัน ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค มีพื้นที่ปฏิบัติงาน จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย

       1. ส่วนอำนวยการกลาง อาคารจามจุรี 1 ชั้น 2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

       2. สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีผาสิงห์ (ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการ เครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน
พื้นที่ดังกล่าวได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ให้เข้าใช้ประโยชน์ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนาพื้นที่ อาคาร โครงสร้างพื้นฐาน และระบบการสื่อสารทางไกล เพื่อให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานประจำของอาจารย์ นิสิต และบุคลากร ให้เสมือนปฏิบัติงาน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย อาคารเรียน อาคารปฏิบัติการวิจัย อาคารที่พัก อาคารกีฬาในร่ม อาคารเรือนทดลอง นาหญ้า พื้นที่ทดลองการเกษตร รวมทั้งฝูงแพะ และสุกร

       3. สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน (สถานีวิจัยคัดเลือกและบำรุงพันธุ์สัตว์) ตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
พื้นที่ดังกล่าวได้มีการพัฒนาให้มีโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการจัดกิจกรรมของอาจารย์ นิสิต และบุคลากร ประกอบด้วย อาคารปฏิบัติการวิจัย อาคารที่พัก นาหญ้า พื้นที่ทดลองการเกษตร รวมทั้งฝูงโคพื้นเมือง

       4. โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

       บทบาทหน้าที่ของศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาคใน ปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนากิจกรรมที่จัดลงสู่พื้นที่จังหวัดน่าน ร่วมกับ คณะและหน่วยงานต่างๆ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ

page1 2 pic01- เป็นหน่วยพัฒนามาตรฐานการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสื่อสารทางไกลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในหลักการ “e-Learning”

- เป็นหน่วยพัฒนากิจกรรมการเข้าใช้พื้นที่โครงการฯ ณ สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีผาสิงห์และไหล่น่าน ที่เน้นการเชื่อมโยงองค์ความรู้ของคณะและหน่วยงานต่างๆ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปสู่ท้องถิ่นจังหวัดน่าน ผ่านกิจกรรมการวิจัยและการบริการวิชาการ เป็นสำคัญ

- เป็นหน่วยงานในการทำหน้าที่ประสานงานและบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการเพิ่มบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง

Go to top
JSN Boot template designed by JoomlaShine.com